วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กระดาษที่ใช้ในการผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์




ในการผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์มีขั้นตอนและกระบวนการทำหลายแบบ เพื่อรองรับวัสดุที่ใช้ในการผลิต แต่สำหรับงานพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์กระดาษนั้น ตัวกระดาษที่สามารถนำมาใช้ทำได้ก็มีหลายแบบ หลายชนิด โดยการจะเลือกใช้กระดาษชนิดไหนนั้น ก็ต้องดูตามเหมาะสมของการนำไปใช้และตัวสินค้า
กระดาษที่ใช้สำหรับในการรับพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกระดาษสีขาวและสีน้ำตาล เนื่องจากกระดาษสีขาวนั้นสามารถพิมพ์สีต่างๆลงไปได้โดยที่สีจะไม่แปลกไปจากไฟล์งานที่ออกแบบมานั้นเอง ซึ่งกระดาษที่นิยมใช้ก็ไม่ว่าจะเป็น
1.กระดาษอาร์ตการ์ด
2.กระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียว
3.กระดาษกล่องแป้งหลังขาว/หลังเทา
4.กระดาษคราฟท์สีน้ำตาล
5.กระดาษลูกฟูก
โดยกระดาษจะมีความหนาตั้งแต่ 250 แกรม ขึ้นไป เนื่องจากหากใช้กระดาษที่บางเกินไป เวลาประกอบออกมาแล้วตัวกล่องจะไม่คงรูปเนื่องจากกระดาษบางเกินไป ในการรับผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ หากเป็นกล่องขนาดเล็ก ประเภทกล่องใส่เครื่องสำอางขนาดเล็ก สบู่ หรือครีมต่างๆ ก็จะใช้เป็นกระดาษอาร์ตการ์ด กล่องแป้ง กระดาษขาวธรรมดาได้ แต่ถ้าเป็นกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ต้องใช้ใส่สินค้าที่ขนาดใหญ่ และน้ำหนักเยอะก็อาจจะต้องใช้เป็นพวกกล่องกระดาษลูกฟูก

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

งานพิมพ์เมนูอาหารเข้าเล่มแบบเย็บหมุด



                    งานพิมพ์เมนูอาหารเข้าเล่มแบบเย็บหมุด เป็นเมนูอาหารที่สามารถถอดหมุดเพื่อเปลี่ยนเนื้อในและประกอบกลับคืนเหมือนเดิมได้ โดนที่ตัวเล่มงานไม่พังเสียหายเพราะว่าการเข้าเล่มนั้น จะใช้หมุดเป็นตัวหยุดไม่ได้ใช้กาวหรือเม็คเย็บนั้นเอง เมนูอาหารแบบเย็บหมุดจำนวนหน้ารวมปกทั้งหมดต้องลงเป็นหน้าคู่ มีทั้งแบบปกแข็งและปกอ่อนแต่ส่วนใหญ่จะนิยมทำเป็นแบบปกแข็งมากกว่าเพราะมีความทนทาน และอายุการใช้งานนานกว่าแบบปกอ่อน
                    ขนาดของเมนูอาหารแบบเย็บหมุดนั้นสามารถทำได้หลายขนาด แต่จะไม่เกิน A-3 กระดาษที่ใช้ในการทำจะเป็นกระดาษที่มีความหนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป ทั้งตัวปกและเนื้อใน แต่หากเป็นเมนูแบบปกแข็ง ตัวปกจะใช้เป็นกระดาษแข็งจั่วปัง ซึ่งโดยปกติจะมีความหนาตั้งแต่ 2.07 มิล ขึ้นไป โดยจะพิมพ์ลงบนกระดาษสติ๊กเกอร์แล้วนำมาติดหุ้มลงบนกระดาษแข็งจั่วปังอีกทีนั้นเอง งานพิมพ์เมนูอาหารแบบเย็บหมุดนั้นตรงสันหรือขอบเมนูที่เอาไว้เย็บหมุดติดปกติจะมีขนาประมาณ 2 cm เพราะถ้าหากเล็กกว่านี้เวลาเจาะรูสำหรับใส่หมุดอาจจะเกิดรอยแตกได้
สำหรับการออกแบบไฟล์งานที่จะใช้พิมพ์เมนูอาหารแบบเย็บหมุดนั้น เวลาออกแบบควรทำส่วนที่เป็นสันเมนูแยกต่างหากอย่างน้อย 2 cm. จะได้ไม่โดนส่วนรายการเมนูและราคาอาหารต่างๆ ซึ่งถ้าจะให้เข้าเล่มออกมาแบบนี้สวยงามดูไม่บางเกินไปต้องใช้มีตั้งแต่ 8 หน้าขึ้นปกรวมปก

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

การ์ดเชิญไดคัท



การ์ดเชิญไดคัทนั้น ก็เหมือนกับการ์ดเชิญปกติทั่วไป แต่จะมีความพิเศษกว่า คือ จะมีการได้คัทหรือตัดออกเป็นรูปแบบต่างๆที่ไม่ใช่รูปทรงสี่เหลี่ยมนั้นเอง เช่น ไดคัทเป็นหัวใจ ไดคัทมุม ฯลฯ การรับพิมพ์การ์ดที่จะต้องมีการไดคัทงานนั้น จะใช้เวลาในการทำงานมากกว่าการ์ดเชิญปกติ แต่การพิมพ์และกระดาษที่ใช้ก็เหมือนกับการพิมพ์การ์ดแบบปติ
การ์ดไดคัท หรือการนำเอาวิธีการไดคัทมาใช้ร่วมกับการทำการ์ดนั้น ส่วนใหญ่จะนิยมทำกับการ์ดแบบพับ หรอืการ์ดป๊อบอัพ ที่จะมีการไดคัทเป็นชิ้นๆแล้วนำมาประกอบอีกที งานที่ได้ออกมาจะดูครีเอทและแตกต่างไปจากการ์ดที่พบเห็นอยู่ทั่วไป กระดาษที่ใช้ในการทำการ์ดไดคัท ควรจะเป็นกระดาษที่มีความหนาตั้งแต่ 190 g ขึ้นไป สำหรับการไดคัทนั้นสามารถทำได้ทั้งแบบใช้เครื่องไดคัท และการทำบล็อกปั๊ม ซึ่งต้องดูรายละเอียดงานอีกที เช่น ในส่วนของกระดาษ เพราะการไดคัทโดยใช้เครื่องนั้นบางเครื่องมีข้อจำกัด เช่น ไดคัทกระดาษได้หนาสุดที่ 230 แกรม สำหรับการทำไฟล์งานเพื่อนำมาทำงานพิมพ์การ์ดไดคัทนั้น ควรหลีกเลี่ยงการออกแบบที่มีรายละเอียดงานเยอะ เช่น ลายเส้นที่ไดคัทเล็กๆ เพราะหากลายละเอียดงานเล็กมากๆ เวลาไดคัทออกมาอาจจะขาดได้ ทำให้เสียมากกว่าดี

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2559

งานพิมพ์หนังสือขนาดมาตราฐาน



           งานพิมพ์หนังสือขนาดมาตราฐาน หรือขนาดงานที่นิยมรับพิมพ์หนังสือกันนั้น จะเป็นขนาดงานที่สามารถหากซองหรือมีถุงต่างๆใส่ได้ง่าย และเวลาเวลาประหยัดกระดาษเพราะสามารถตัดขนาดกระดาษได้ลงตัวไม่เหลือเหลือเศษมากนั้นเอง โดยขนาดงานสำเร็จของงานพิมพ์หนังสือที่นิยมได้แก่
1.ขนาด A-4(8.25'' x 11.5'')
2.ขนาด A-5(8.25'' x 5.75'')
3.ขนาด A-4(4.13'' x 5.75'')
            ซึ่งการทำหนังสือออกมาแต่ละเล่มนั้นจะเลือกทำออกมาเป็นขนาดเท่าไหร่ ก็ต้องดูตามความเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้งาน จำนวนหน้าที่มี และความต้องการของเจ้าของงาน เช่น การรับพิมพ์หนังสือนิยายหรือพ็อกเก็ตบุ๊ค ส่วนใหญ่จะทำออกมาเป็นขนาด A-5 เพราะถือว่ามีขนาดที่ไม่เล็กและไม่ใหญ่จนเกินไป สามารถพกติดตัวไปไหนมาไหนได้สะดวก หนังสือธรรมมะหรือหนังสือสวดมนต์จะนิยมทำเป็นขนาด A-5 และ A-6 นิยมทำเป็นขนาดเล็กเพื่อความสะดวกในการเปิดอ่านและมีเนื้อหาไม่มาก แต่ถ้าหากเป็นหนังสือประเภทหนังสือเรียนหรือตำราคาเรียน จะนิยมทำเป็นขนาด A-4 เพราะว่ามีเนือ้หาต่างๆค่อนข้างเยอะ ดังนั้นหากใครที่คิดจะทำหนังสือเป็นของตัวเองควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆเหล่านี้ด้วย

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ขั้นตอนในการทำงานพิมพ์ป้ายแท็ก



งานพิมพ์ป้ายแท็ก หรือป้ายสินค้านั้นโดยปกติที่มีการรับทำป้ายแท็กนั้น งานสำหรับเวลาใช้งานนั้นก็จะเป็นป้ายกระดาษและมีรูเจาะพร้อมเชือกสำหรับมัดหรือคล้องกับสินค้าหรือสิ่งของต่างๆ ซึ่งขั้นตอนในการผลิตคราวๆ ได้แก่
1.เตรียมไฟล์สำหรับพิมพ์
2.พิมพ์จริงโดยยึดสีตามไฟล์งานต้นฉบับ
3.ตัดเป็นชิ้นจริง ขนาดสำเร็จ
**หากเป็นงานพิมพ์ป้ายแท็กที่ต้องมมีการไดคัทตามแบบหรือไม่ใช่ทรงสี่เหลี่ยมต้องทำการปั๊มไดคัทตามแบบอีกที
4.เจาะรูสำหรับร้อยเชือก
5.QC หรือตรวงสอบงานก่อนส่งมอบ
สำหรับขั้นตอนการตัดเป็นชิ้นสำเร็จและการเจาะรูสำหรับร้อยเชือกนั้น จะทำขั้นตอนไหนก่อน-หลัง ก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต ความเหมาะสม และความสะดวกในการทำงานของผู้รับทำป้ายแท็กอีกที สำหรับตัวรูเจาะสามารถกำหนดขนาดรูได้ตามต้องการเลยแต่ ส่วนใหญ่แล้วควรจะมีขนาดตั้งแต่ 3 mm. ขึ้นไป เพราะถ้าหากว่าเล็กกว่านี้กระดาษจะขาดและรูเจาะจะไม่เรียบร้อย

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

งานพิมพ์หนังสือเข้าเล่มแบบไหนได้บ้าง



ก่อนจะออกมาเป็นงานพิมพ์หนังสือสักหนึ่งเล่มนั้น จะต้องมีการเข้าเล่มให้เรียบร้อยก่อนเพื่อที่หน้าปกและเนื้อหารวมกันเป็นเล่ม ซึ่งในการรับพิมพ์หนังสือนั้น มีรุปแบบการเข้าเล่มที่เยอะพอสมควรสามารถเลือกใช้รูปแบบการเข้าเล่มได้ตามความเหมาะสอมของหนังสือนั้นๆ
1.การเข้าเล่มแบบเย็บมุงหลังคา หรือการเย็บแม็คตรงกลางนั้นเองเหมาะกับหนังสือที่มีจำนวนหน้าไม่มาก ซึ่งการเข้าเล่มแบบเย็บมุงหลังคานั้นใช้เวลาในการทำน้อย และต้นทุนไม่มากเมื่อเทียบกับวิธีการเข้าเล่มแบบอื่นๆ
2.การเข้าเล่มแบบไสกาว ซึ่งงานพิมพ์หนังสือส่วนใหญ่จะนิยมใช้วิธีไสกาวงานสำเร็จออกมาการเข้าเล่มดูเรียบร้อย และแน่นหนา เหมาะกับหนังสือที่มีจำนวนหน้าไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป เช่น มีจำนวนหน้าไม่ควรเกิน 150 หน้า
3.การเข้าเล่มแบบกาวหัว เหมาะกับงานพิมพ์หนังสือประเภทสมุดโน๊ต
4.การเข้าเล่มแบบสันกาว จะคล้ายกับไสกาวแต่งานที่ได้มาจะแน่นหนากว่าและสามารถเข้าเล่มหนังสือจำนวนหน้าได้มากกว่าการเข้าเล่มไสกาว
5.การเข้าเล่มแบบเข้าห่วงกระดูกงู หนังสือที่มีการเข้าเล่มแบบนี้สามารถเปิดได้ถึง 360 องศา
6.การเข้าเล่มแบบเย็บกี่ ในการรับพิมพ์หนังสือที่มีการเข้าเล่มแบบเย็บกี่นั้นเหมาะกับหนังสือที่มีความหนามากๆ เช่น หนังสือสารานุกรม เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เปลี่ยนการ์ดต่างงานที่ดูธรรมดา ให้ไม่ธรรมดาด้วยเทคนิคพิเศษหลังการพิมพ์



งานแต่งงานสักครั้งนึง ใครหลายๆคนก็คงอยากจะทำการ์ดแต่งงานให้ออกมาดูดีและสวยที่สุด ดังนั้นทางผู้ที่รับพิมพ์การ์ดแต่งงานหรือู้ให้บริการงานพิมพ์ต่างๆ จึงมีเทคนิคพิเศษหลังการพิมพ์ไว้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการนั้นเอง ซึ่งวิธีที่นิยมใช้ก็ได้แก่
1.การเคลือบ โดยปกติจะมีแบบเงาและด้าน ซึ่งมีทั้งเคลือบ UV PVC ถ้าหากว่าเป็นงานพิมพ์ดิจิตอลจะเป็นการเคลือบ PVC แต่ถ้าเป็นงานพิมพ์ระบบออฟเซทจะเป็นการเคลือบ UV
2.ปั๊มนูน ส่วนใหญ่จะเลือกทำหรือปั๊มเฉพาะจุดที่ต้องการให้เกิดความโดดเด่น เช่น โลโก้
3.การเคลือบเฉพาะจุด Spot UV นิยมทำคู่กับการเคลือบด้านเพราะการ Spot UV นั้น ส่วนที่ทำจะมันเงาและนูนขึ้นมาเล็กน้อยซึ่งตัดกับพื้นงานส่วนอื่นที่เป็นแบบด้าน จึงทำให้ส่วนที่ Spot UV นั้นดูเด่นและสีตัดกับพื้นหลัง
4.ปั๊มฟอยล์ที่นิยมทำจะมีฟอยล์เงินและฟอยล์ทอง แต่ที่จริงก็มีสีอื่นๆด้วย เช่น สีชมพู เขียว น้ำเงิน ฯลฯ
5.การไดคัท เป็นการตัดกระดาษออกเป็นรูปร่างต่างๆตามความต้องการ
6.การพับ จะนิยมทำกับการ์ดแต่งงานแบบพับ ทางผู้ที่รับพิมพ์การ์ดแต่งงานจะทำการตีเส้นพับ เพราะถ้าหากไม่ตีเส้นพับก่อนเวลานำไปพับส่วนที่เป็นรอยพับกระดาษจะแตก ยิ่งกระดาษหนามากเท่าไหร่รอยแตกก็จะยิ่งชัดขึ้นเท่านั้น