วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

งานพิมพ์เมนูอาหารเข้าเล่มแบบเย็บหมุด



                    งานพิมพ์เมนูอาหารเข้าเล่มแบบเย็บหมุด เป็นเมนูอาหารที่สามารถถอดหมุดเพื่อเปลี่ยนเนื้อในและประกอบกลับคืนเหมือนเดิมได้ โดนที่ตัวเล่มงานไม่พังเสียหายเพราะว่าการเข้าเล่มนั้น จะใช้หมุดเป็นตัวหยุดไม่ได้ใช้กาวหรือเม็คเย็บนั้นเอง เมนูอาหารแบบเย็บหมุดจำนวนหน้ารวมปกทั้งหมดต้องลงเป็นหน้าคู่ มีทั้งแบบปกแข็งและปกอ่อนแต่ส่วนใหญ่จะนิยมทำเป็นแบบปกแข็งมากกว่าเพราะมีความทนทาน และอายุการใช้งานนานกว่าแบบปกอ่อน
                    ขนาดของเมนูอาหารแบบเย็บหมุดนั้นสามารถทำได้หลายขนาด แต่จะไม่เกิน A-3 กระดาษที่ใช้ในการทำจะเป็นกระดาษที่มีความหนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป ทั้งตัวปกและเนื้อใน แต่หากเป็นเมนูแบบปกแข็ง ตัวปกจะใช้เป็นกระดาษแข็งจั่วปัง ซึ่งโดยปกติจะมีความหนาตั้งแต่ 2.07 มิล ขึ้นไป โดยจะพิมพ์ลงบนกระดาษสติ๊กเกอร์แล้วนำมาติดหุ้มลงบนกระดาษแข็งจั่วปังอีกทีนั้นเอง งานพิมพ์เมนูอาหารแบบเย็บหมุดนั้นตรงสันหรือขอบเมนูที่เอาไว้เย็บหมุดติดปกติจะมีขนาประมาณ 2 cm เพราะถ้าหากเล็กกว่านี้เวลาเจาะรูสำหรับใส่หมุดอาจจะเกิดรอยแตกได้
สำหรับการออกแบบไฟล์งานที่จะใช้พิมพ์เมนูอาหารแบบเย็บหมุดนั้น เวลาออกแบบควรทำส่วนที่เป็นสันเมนูแยกต่างหากอย่างน้อย 2 cm. จะได้ไม่โดนส่วนรายการเมนูและราคาอาหารต่างๆ ซึ่งถ้าจะให้เข้าเล่มออกมาแบบนี้สวยงามดูไม่บางเกินไปต้องใช้มีตั้งแต่ 8 หน้าขึ้นปกรวมปก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น