วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

จะออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ขึ้นมาสักกล่อง ต้องเครีมอะไรบ้าง



การจะพิมพ์หรือทำกล่องบรรจุภัณฑ์ขึ้นมาสักกล่องนั้น ก่อนที่จะพิมพ์ควรจะมีการออกแบบไฟล์งาน เพื่อใช้ในการพิมพ์ ซึ่งหากไม่สามารถที่จะทำอาร์ตเองได้ก็สามารถหากราฟฟิกหรือติดต่อกับผู้ที่รับพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ได้ เพราะร้านทำงานพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีบริกาารรับออกแบบงานพิมพ์อยู่แล้ว ซึ่งสิ่งที่จะต้องเตรียมให้กับผู้ที่ออกแบบงานก็จะมี
1.โลโก้สินค้า หรือแบรนด์สินค้า ในส่วนนี้ผู้ที่รับออกแบบอาจจะออกแบบโลโก้ให้ด้วย หรือว่าอาจจะให้ทางผู้สั่งทำส่งรูปโลโก้ให้
2.ขนาดงานกล่องสำเร็จที่ต้องการ หรือว่าอาจจะเป็นขนาดสินค้า
3.ข้อมูลสินค้า ชื่อสินค้า สรรพคุณ วิธีการใช้ ข้อห้ามข้อแนะนำ ที่อยู่สถานที่ตั้ง ขนาด ราคา ส่วนประกอบ
4.เลข อย. หรือเลขที่จดทะเบียนต่างๆ
ที่กล่าวมาจะเป็น ข้อมูล 4 ข้อหลักๆที่ขาดไม่ได้ ต้องเตรียม เพราะคนที่ออกแบบก็จะออกแบบตามสั่ง ตามข้อมูลที่ได้มา ส่วนข้อมูลรูปภาพอื่นๆ ทางคนที่ออกแบบอาจจะหาให้เอง เช่น รูปสัญลักษณ์ อย. เครื่องหมายการค่าต่างๆ รูปภาพประกอบ แต่ถ้าหากว่าใช้รูปภาพที่เป็นแบบเฉพาะเจ้าของงานควรจะเตรียมไว้ให้ ซึ่งหลังจากที่ออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถทำไฟล์งานต้นฉบับส่งต่อให้กับผู้ที่รับพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ เพื่อเริ่มขั้นตอนในการผลิตงานจริงได้เลย ซึ่งข้อมูลต่างๆที่กล่าวไปข้างต้นนั้น จะขาดไม่ได้เลย เพราะเป็นข้อมูลสำคัญการที่สินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีข้อมูลการผลิต แหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน เป็นส่วนประกอบที่ทำให้สินค้าดูได้มาตราฐานและหน้าใช้

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

เปลี่ยนกล่องบรรจุภัณฑ์แสนธรรมดาให้ไม่ธรรมดาด้วยเทคนิคพิเศษหลังการพิมพ์



กล่องบรรจุภัณฑ์ ถือว่าเป็นหน้าเป็นตาหรือเป็นตัวเปิดทางของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆอีกอย่างเลยก็ว่าได้ อย่างเช่น เวลาสินค้าที่มีการวางขายอยู่ทั่วไปกล่องบรรจุภัณฑ์รูปทรงสี่เหลี่ยมเหมือนกันไปหมด โดยเฉพาะในปัจจุบันมีสินค้าลอกเลียนแบบกันเยอะ หรือสินค้าประเภทเดียวกัน กลุ่มลูกค้าเดี๋ยวกัน ดังนั้น เราต้องใช้ตัวกล่องบรรจุภัณฑ์นี้แหละในการดึงดูดผู้คนให้มาสนใจสินค้าและผลิตภัณฑ์ของเรา โดยใช้เทคนิคพิเศษหลังการพิมพ์นั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นร้าน หรือโรงพิมพ์ไหนๆที่รับทำกล่องบรรจุภัณฑ์ จะต้องมีเทคนิคหลังการพิมพ์อยู่แล้ว ซึ่งก็จะมีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมในการทำเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับงานพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ ได้แก่
1.การเคลือบ PVC เงาและด้าน เป็นการเคลือบลงบนกระดาษที่ทำการพิมพ์ลวดลายต่างๆเรียบร้อยแล้ว เคลือบทั้งแผ่น ทุกส่วน จะเคลือบด้านเดียว หรือทั้งสอบด้านก็แล้วแต่ความต้องการ
2.Spot Uv การเคลือบเฉพาะจุดนั้นเอง เลือกที่จะเคลือบแค่บางจุดที่ต้องเท่านั้น เช่น Spot UV ตัวโลโก้ ส่วนที่ทำการ Spot UV จะดูมันเงา และเวลาสัมผัว จะรู้สึกได้ คือ นูนขึ้นมาจากพื้นกระดาษเล็กน้อย
3.ปั๊มนูน/ปั๊มลึก นิยมทำในส่วนที่เป็นโลโก้หรือแบรนด์สินค้า ส่วนที่ปั๊มจะนูนขึ้นมา ซึ่งการปั๊มนูน/ลึกนั้น กระดาษอีกฝั่งที่ทำการปั๊มจะเป็นรอยปั๊ม เช่นกัน
4.ปั๊มฟอยล์ มีหลายสีมาก ไม่ว่าจะเป็น น้ำเงิน เขียว เหลือง ชมพู ทอง เงิน แต่สีที่มีความนิยมใช้งานกันเยอะก็จะเป็น ฟอยล์สีทองและสีเงิน
5.การพิมพ์หมึกสีใส หรือ clean dry ink เช่น พิมพ์ลายน้ำลงบนงานพิพม์ ซึ่งหมึกตัวนี้ เลยนำไปถ่ายเอกสารจะไม่ติดหรือจะไม่เห็นลายของหมึก ซึ่งจะทำได้เฉพาะผู้ที่รับทำกล่องบรรจุภัณฑ์ระบบดิจิตอลเท่านั้น
ทั้ง 5 วิธี ที่กล่าวมาเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่สามารถเพิ่มความสวยงามให้กับงานพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ได้ ซึ่งสามารถเลือกใช้แต่ละวิธีได้ตามความเหมาะสมเลย แต่ก็ต้องคำนึงถึงด้วยว่าเมื่อเป็นเทคนิคพิเศษหลังการพิพม์ สิ่งที่จะต้องจ่ายเพื่อแลกกับความสวมงามก็ต้องพิเศษขึ้นมาอีกนิดเมื่อเทียบกับงามพิมพ์ปกติด้วย เช่นกัน

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

เมนูอาหาร 1 เล่ม จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง



จะทำเมนูอาหารขึ้นมาสักเล่มต้องมีการวางแผนและรวบรวมข้อมูล ที่จะใช้ในการทำให้ครบถ้วน จะได้ไม่ขาดอะไร เพราะว่าเมื่อมีการผลิตออกมาหรือพิมพ์งานออกมาแล้วจะแก้ไขงานไม่ได้แล้ว ขึ้นก็ต้องเริ่มกันตั้งแต่การออกแบบ ออกแบบส่วน ข้อมูลครบ งานพิมพ์เมนูอาหารที่ได้ออกมาก็จะสวยงามตามตนแบบ เพราะทางผู้ที่รับทำเมนูอาหารนั้นก็ทำการผลิตพิมพ์งาน ตามไฟล์งานต้นฉบับที่ได้รับมา
ในเมนูอาหาร 1 เล่ม นั้น เนื้อหาข้อมูลต่างๆก็จะมี
1.ชื่อรายการอาหาร จะได้ทำให้รู้ว่าในร้านนั้น มีรายการอาหารชนิดไหนบ้างที่ขายอยู่และสามารถสั่งมาทานได้
2.ราคาอาหาร ราคาอาหารลูกค้าจะได้รู้ว่า อาหารแต่ละจานนั้นราคาเท่าไหร่ และอาหารบางอย่างนั้น อาจจะมีหลายขนาด ราคาก็จะต่างกันไปด้วย ดังนั้นควรจะมีราคาอาหารกับกับไว้ด้วย
3.รูปภาพประกอบ รูปภาพของอาหารที่หน้าทานจะทำให้ผู้ที่เห็นนั้น อยากจะสั่งมาทาน เพราะอาหารบางอย่าง บางคนอาจจะไม่รู้จัก โดยเฉพาะบางร้านที่มีเมนูพิเศษเฉพาะ คนที่มาเห็นชื่ออาหารอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าหน้าตาอาหารเป็นแบบไหน ดังนั้นควรจะมีรูปภาพประกอบด้วย
4.ชื่อร้าน ที่อยู่ ช่องทางการติดต่อของร้าน ชื่อร้านที่หน้าปกเลย คนที่เห็นจะได้จดจำชื่อร้านไปด้วย ที่อยู่หรือช่องทางการติดต่อ เช่น เบอร์โทร เผื่อลูกค้าอาจจะโทรมาสั่งหรือว่าจองโต๊ะ FB Line ในยุคโซเชียลแบบนี้ขาดไม่ได้ มีไว้แท็กหรือ เช็คอิน เป็นการโปรโมตร้านไปในตัว
ดังนั้นเมื่อได้ผู้ที่รับทำเมนูอาหารแล้วได้แล้ว ควรจะตรวจเช็คข้อมูลต่างๆในไฟล์ต้อนฉบับก่อนส่งพิมพ์ให้เรียบร้อย เพื่อข้อมูลที่ถูกต้องและการใช้ประโยชน์สูงสุด