งานพิมพ์เมนูอาหารนั้น
ตามขั้นตอนปกติในการทำงานพิมพ์ก็คือการพิมพ์สี
ซึ่งบางทีอาจจะมองว่าธรรมดาเกินไป
ก็ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่าง
หรือโดดเด่น นอกจากการออกแบบที่ไม่ซ้ำใคร
ดังนั้น
เรามาดูเทคนิคพิเศษหลังการพิมพ์ที่ใช้เพิ่มความสวยงามให้กับงานพิมพ์เมนูอาหาร
ซึ่งก็มีหลายวิธี
งานที่ออกมาก็ต่างกันไป
เช่น
1.การเคลือบจะมีทั้งแบบเคลือบเงาและเคลือบด้าน
ซึ่งงานที่ออกมาก็จะแตกต่างกันไป
การเคลือบเงางานที่ออกมาจะมันเงา
ส่วนการเคลือบด้านจะดูด้านๆมั่วๆเหมือนฝ้ากระจกหรือไอหมอก
แต่ก็สามารถมองเห็นทะลุงานพิพม์ได้จะนิยมทำควบคู่ไปกับการ
Spot UV หรือการเคลือบเฉพาะจุด
2.Spot
UV หรืออาจจะเรียกอีกอย่างว่าการเคลือบเฉพาะจุด
เลือกทำเฉพาะบางส่วนของงานพิมพ์เท่านั้น
นิยมทำคู่กับวิธีการเคลือบด้าน
3.ปั๊มนูนหรือปั๊มจม
การใช้วิธีการปั๊มนั้น
จะต้องมีการทำบล็อกเพื่อขึ้นรูปตำแหน่งที่ปั๊ม
ส่วนที่ปั๊มจะนูนขึ้นมาจากเนื้อกระดาษถ้าเป็นปั๊มนูน
แต่ถ้าเป็นปั๊มจม/ลึก
ก็จะตรงข้ามกับปั๊มนูน
4.ปั๊มฟอยล์
การปั๊มฟอยล์ตัวฟอยล์ที่ใช้ในการปั๊มจะมีหลายสีแต่ที่นิยมใช้งานกันจะเป็นฟอยล์สีเงินและสีทอง
ในการทำก็ต้องทำบล็อกขึ้นรูปเหมือนกัน
ซึ่งในขั้นตอนการปั๊มฟอยล์นั้นหากทำไม่ดี
ฟอยล์จะไม่ติดแน่นหรือหลุดจะเห็นเป็นรอยด่างๆ
5.ไดคัทตามแบบในส่วนของการไดคัทสามารถทำได้ตามความต้องการเลยว่าจะไดคัทเป็นแบบไหนรูปอะไร
ซึ่งการไดคัทนะสามารถทำได้ทั้งแบบไดคัทเครื่องและการทำบล็อกขึ้นรูปไดคัท
6.การพิมพ์สีพิเศษ
หรือหมึกพิเศษ เช่น สีทอง
หรือสีเงิน สีที่มุก
ในการทำพิมพ์เมนูอาหารนั้น
ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมทำเป็นงานเคลือบทั้งเล่มเพราะว่าจะช่วยทำให้งานดูสวยงามขึ้น
และการเคลือบยังสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของเมนูอาหารได้ด้วยเพราะการเคลือบ
PVC
นั้นจะทำให้ตัวงานพิมพ์เมนูอาหารฉีกขาดยากขึ้นและสามารถใช้ผ้าชุบน้ำหรือแอลกอฮอร์เช็คทำความสะอาดได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น